SD Sale & Distribution

 

SD Sale & Distributions หรือโมดูลทางด้านขายและการกระจายสินค้า

เป็นโมดูลที่รวบรวม ระบบการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โดยเริ่มตั้งแต่ระบบการบริหารการขาย (Sales Management) ระบบวิเคราะห์ยอดขาย (Sales Analysis) ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM-Customer Relationship Management) ระบบการคาดคะเนยอดขาย (Forecasting) ระบบการบริหารการสั่งซื้อ (Purchasing) รวมถึงระบบการบริหารคลังสินค้าและวัตถุดิบ (Inventory)• ระบบการบริหารการขาย (Sales Management)ระบบการบริหารการขาย จะเริ่มตั้งแต่การจัดเก็บฐานข้อมูลลูกค้า (Customer Master Database) การป้อนข้อมูลการสั่งซื้อ (Sales Order Data Entry) และการเก็บเกี่ยวข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานภาพของใบสั่งซื้อนั้นๆ เพื่อการตรวจสอบ โดยรวมถึงการป้อนใบสั่งซื้อ การติตตามการสั่งซื้อ รายงานสถานภาพใบสั่งซื้อ ราคา ใบกำกับสินค้า ข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำไปใช้ในการสืบค้น รายละเอียดเกี่ยวกับลูกค้า การเสนอราคา การลดราคา การออกใบกำกับสินค้า (Invoicing) รวมถึงการบริการสอบถามข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต

• ระบบการวิเคราะห์ยอดขาย (Sales Analysis)
ระบบการวิเคาะห์ยอดขาย (Sales Analysis) จะทำการรวบรวมข้อูลของการขายผลิตภัณฑ์จากใบกำกับสินค้าทุกๆฉบับ โดยจะทำการจัดข้อมูลในหลายรูปแบบ มิติ และมุมมอง เช่น ยอดขายในปีนี้ถึงปัจจุบัน (Year-to-Date Sales) ยอดผลกำไร (Margin) ยอดต้นทุนขาย (Sales Cost) โดยสามารถเรียกดูข้อมูลเป็นรายเดือน รายปี หรือช่วงใดๆ ตามต้องการ และยังสามารถวิเคราะห์ยอดขายตามลูกค้า (By Customer) ตามผู้ขาย (Sales Person) ตามภูมิศาสตร์ (Geography) จังหวัด ประเทศ ทวีป ยอดขายตามผลิตภัณฑ์ (By Product Type and Product Group) รวมทั้งการจัดอันดับ (Ranking) ต่างๆ

• การยืนยันวันส่งสินค้า (ATP – Available To Promise)
การยืนยันวันส่งสินค้า (ATP – Available To Promise) จะถูกใช้งานในกรณีที่ ลูกค้าสอบถามถึงวันที่ที่เร็วที่สุดที่สามารถส่งสินค้าตามที่ลูกค้าสั่ง ให้กับลูกค้าได้ โดยต้องการคำตอบที่เร็วที่สุด ระบบนี้จะรับข้อมูลสินค้าและจำนวนที่ลูกค้าต้องการ และต้องทำการตรวจสอบข้อมูลจากระบบอื่น เช่น ข้อมูลสินค้า/วัตถุดิบคงคลัง (Inventory) ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการผลิต รวมถึงความสามารถในการส่งวัตถุดิบจากผู้ขาย โดยจะคำนวณว่า สินค้าในจำนวนที่มีการสอบถามเข้ามา จะสามารถผลิตและพร้อมส่งให้ลูกค้าได้ในวันใด และในกรณีที่ไม่มีวัตถุดิบเพียงพอ จะสามารถสั่งเข้ามาได้เมื่อไหร่ รวมถึงตารางการผลิตที่ว่าง เพื่อพร้อมสำหรับการผลิตด้วย

• ราคาและส่วนลดของผลิตภัณฑ์ (Pricing and Discounting)
การกำหนดราคาและส่วนลดและส่วนลดของผลิตภัณฑ์ (Pricing and Discounting) จะเริ่มตั้งแต่การประมวลผลใบสั่งซื้อของลูกค้า และเก็บสถานภาพเพื่อรายงานการย้อนตรวจสอบ การกำหนดราคาในแต่ละใบสั่งขาย จนกระทั่งถึงใบกำกับสินค้า (Invoicing) โดยรวมถึงการเสนอราคา (Quote Processing) และการลดราคา (Rebate) ในแต่ละสินค้าของลูกค้าแต่ละราย

• ระบบสนับสนุนการคาดคะเน (Forecasting)
ระบบสนับสนุนการคาดคะเน (Forecasting) จะทำหน้าที่สร้างและรับข้อมูลความต้องการสั่งซื้อในอนาคต (Sales Forecast) เพื่อคำนวณให้ได้ผลลัพธ์ความต้องการขององค์กร ทั้งในด้านความต้องการ การสั่งซื้อผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป หรือใบสั่งผลิตสินค้าล่วงหน้าให้โรงงานการผลิต หรือความต้องการการส่งวัตถุดิบล่วงหน้า หรือแม้แต่ความสามารถในการขยายกำลังการผลิตและบริการขององค์กรในอนาคต ทั้งในด้านเครื่องจักร กำลังคน เครื่องมือเครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่างๆ
โดยในระบบสนับสนุนการคาดคะเนนั้น ควรมีความสามารถในการจำลอง (Simulation) ความต้องการการขายขององค์กร จากประวัติการขายขององค์กร (Sales History) หรือการคำนวณด้วยอัตรา (Ratio) ต่างๆ เช่น การเพิ่มยอดขายขึ้น30% ในช่วงฤดูร้อนของทุกๆปี หรือการเพิ่มกำลังการผลิตขึ้น 10 ปีอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ต้นปีหน้าเป็นเวลา 1 ปีเป็นต้น

• ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์และอีคอมเมิร์ซ (CRM-Customer Relationship Management and E-Commerce)
ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM-Customer Relationship Management) เป็นการพัฒนามาจากระบบบริหารการติดต่อลูกค้า (Contact Management) โดยได้ทำการปรับปรุงขึ้น โดยรวมกับระบบที่เกี่ยวข้องกับการขายและการบริหารต่างๆ เช่น ระบบการขาย (Sales) ระบบการตลาด (Marketing) และเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารและลูกค้าเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ทางด้านการตลาด เช่น รูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ (Product Configuration) การแจ้งราคา (Quote) การจัดการนำเสนอ (Proposal Management) และสารานุกรมทางการตลาด (Marketing Encyclopedias) โดยอาจเพิ่มเติมบางงานที่ช่วยสนับสนุนงานด้านนี้เข้าไปด้วย เช่น การตั้งราคาที่ซับซ้อน (Complex Pricing) การจัดการการส่งเสริมการขาย (Sales Promotion Management) การวางแผนค่านายหน้า (Commission Plan) การบริหารทีมขาย (Team Sales) การจัดการรณรงค์และการโฆษณา (Campaign and Advertising Management) และสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่เน้นทางด้านการขายและการตลาด อาจรวมระบบศูนย์กลางการเรียกเข้าทางโทรศัพท์ (Call Center) การให้ความช่วยเหลือลูกค้า (Help Desks) การบริการส่วนพื้นที่ (Field Service) ​การทำนาย (Forecasting) และการวิเคราะห์ (Analysis)เข้าไปด้วย
โดยระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM-Customer Relationship Management) นั้น จะจัดเป็นระบบที่พัฒนาให้รวมกับระบบ ERP ในรุ่นใหม่ ดังนั้นบางองค์กรที่ไม่เน้นหนักทางด้านการขายและการตลาด อาจยกเว้นในการพิจารณาระบบนี้ก็ได้

• ระบบการบริหารการจัดซื้อ (Purchasing Management)
ระบบบริหารการจัดซื้อ (Purchasing Management) จะรวบรวมกลุ่มของระบบงาน ที่ทำการสนับสนุนการควบคุมการสั่งซื้อทุกประเภท รวมถึงการสั่งซื้อสินค้าสำเร็จรูปหรือวัตถุดิบซึ่งจะนำมาผลิต โดยเริ่มตั้งแต่การออกใบสั่งซื้อ (Purchase Order) การรับของและการชำระเงิน (Receipt and Payment) ข้อมูลผู้ขาย (Vendor / Supplier Profile) และการวิเคราะห์ตรวจสอบต่างๆ (Analysis and Tracking) โดยระบบนี้ควรสนับสนุนขั้นตอนการทำงานสำคัญๆ เหล่านี้
– ข้อมูลผู้ขาย (Vendor / Supplier Profile)
-การจัดเก็บใบเสนอราคา (Requisition and Quotation)
– การออกใบสั่งซื้อและการจัดการใบสั่งซื้อ (Purchase Orders and Purchase Orders Management )
– การควบคุมราคาและส่วนลด (Price and Discounts)
-การควบคุมสัญญาและข้อตกลงกับผู้ขาย (Vendors Contracts and Agreement)
– รายการทางด้านการจัดซื้อ (Online Procurement Reporting)
– การรับของ (Procurement Receipts)
– การประเมินผลผู้ขาย (Vendor Evaluation)
– การสนับสนุนการเชื่อมต่อข้อมูลจากภายนอก (Data Interface)

ระบบการบริหารสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ (Inventory Management)
ระบบการบริหารสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ (Inventory Management) จะรวบรวมกลุ่มของระบบงานที่ทำการสนับสนุนการควบคุมคลังสินค้า และวัตถุดิบที่สำคัญเหล่านี้
 สร้างรายการเปลี่ยนแปลงของคลังสินค้าและวัตถุดิบ (Inventory Transaction) ทั้งการรับ (Receipt) การจ่าย (Issue) และการโอนย้าย (Transfer)
-ข้อห้ามต่างๆ ในการทำรายการเปลี่ยนแปลงของคลังสินค้าและวัตถุดิบ (Restrict Inventory Transaction)
– การตรวจสอบติดตาม (Monitor) รายการเปลี่ยนแปลงของคลังสินค้าและวัตถุดิบ (Inventory Transaction) และประวัติการบันทึกในระบบ
– การกำหนดโรงงาน คลังที่จัดเก็บ โรงเก็บสินค้า/วัตถุดิบ ที่หลากหลาย (Multiple Plant, Store and Warehouse)
– การควบคุม ติดตามที่ตั้งและกลุ่มของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ (Location and Lot Control)
– การจองและการจัดสรรวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง (Reservation and Allocation)
– การตรวจนับของในคลังสินค้าตามวาระ (Cycle Count) เพื่อพิสูจน์จำนวนยอดคงคลังในมือ (On-hand Qty)
-การปรับยอดในคลัง (Inventory Adjustment)
– ความสามารถในการใช้หน่วยวัดที่หลากหลาย (Multiple Unit of Measurement)
-การวิเคราะห์แบบเอบีซี (ABC Analysis) เพื่อแบ่งกลุ่มความสำคัญของผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ
– รายงานต่างๆ เกี่ยวกับระบบคลังสินค้าและวัตถุดิบ

ที่มา : http://course.eau.ac.th

ใส่ความเห็น